หัวข้อ   “การปฏิบัติตนในวันออกพรรษา และความเห็นของชาวพุทธต่อพุทธศาสนาในปัจจุบัน”
 
                 ชาวพุทธร้อยละ 67.8 เสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนาเพราะข่าวด้านลบ
ต่างๆ ของพระสงฆ์ แต่ยังให้ความสำคัญมากกับวันสำคัญทางพุทธศาสนา
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 เนื่องในวันที่ 12 ตุลาคม เป็นวันออกพรรษา  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นพุทธศาสนิกชนเรื่อง “
การปฏิบัติตน
ในวันออกพรรษา และความเห็นของชาวพุทธต่อพุทธศาสนาในปัจจุบัน
”  โดยเก็บ
ข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,203 คน เมื่อวันที่
3 - 5 ตุลาคม ที่ผ่านมา  พบว่า
กิจกรรมที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำในวันออกพรรษามาก
ที่สุดคือ ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ (ร้อยละ 80.7)
  รองลงมา
คือ ร่วมกุศลกรรม ตักบาตรเทโว (ร้อยละ 32.3) และไปวัดฟังธรรม (ร้อยละ 21.4)
 
                 เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างที่ดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่าตลอด
3 เดือนที่ผ่านมา (วันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา) ได้เข้าร่วมโครงการงดเหล้า
เข้าพรรษาหรือไม่   กลุ่มตัวอย่างผู้ดื่มสุราส่วนใหญ่ร้อยละ 61.4 ระบุว่าได้เข้าร่วม
โครงการ
  แต่ในจำนวนนี้ร้อยละ 37.6 ระบุว่าไม่สามารถปฏิบัติได้ครบทั้ง 3 เดือน
ขณะที่ร้อยละ 23.8 สามารถปฏิบัติได้ครบทั้ง 3 เดือน ทั้งนี้เมื่อถามผู้ที่งดดื่มสุรา หรือ
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อว่า  หลังจากวันออกพรรษาแล้วคิดว่าจะเลิกดื่มอย่างถาวรหรือไม่ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง
ร้อยละ 89.2 ไม่คิดว่าจะเลิกดื่ม
โดยในจำนวนนี้คิดว่าจะดื่มน้อยลง ร้อยละ 72.2  ขณะที่ร้อยละ 17.0 คิดว่าจะดื่ม
เหมือนเดิม   มีเพียงร้อยละ 10.8 ที่คิดว่าจะเลิกดื่มเลย
 
                 สำหรับข่าวเกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ชาวพุทธ รับไม่ได้มากที่สุดคือ ข่าวพระมั่วสีกา (ร้อยละ 49.5)
รองลงมาเป็นข่าวพระเสพยาบ้า ขายยาบ้า (ร้อยละ 29.8)  ข่าวพระสบถหยาบคาย ไม่สำรวม (ร้อยละ 7.2)  ข่าวพระดื่มสุรา
หนีเที่ยว (ร้อยละ 6.1)  และข่าวพระตุ๊ด เณรแต๋ว (ร้อยละ 2.4)   เมื่อถามต่อว่าข่าวต่างๆ ในข้างต้น ส่งผลต่อ
ความเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด ชาวพุทธส่วนใหญ่ร้อยละ 67.8 เห็นว่า ส่งผลค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 32.2 เห็นว่าส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย
 
                 อย่างไรก็ตามชาวพุทธ ร้อยละ 86.2 ยังให้ความสำคัญกับวันสำคัญทางศาสนามาก   ขณะที่มีเพียง
ร้อยละ 13.8 ที่ให้ความสำคัญน้อย
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดดังต่อนี้
 
             1. กิจกรรมที่ตั้งใจจะทำในวันออกพรรษา (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ทำบุญตักบาตร อุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ
80.7
ร่วมกุศลกรรม ตักบาตรเทโว
32.3
ไปวัดฟังธรรม
21.4
ปล่อยนกปล่อยปลา
20.4
ทำความดี ถือศีล 5
20.2
ทำตัวปกติ ไปเที่ยว เดินช้อปปิ้ง
19.8
ไปชมบั้งไฟพญานาค
1.7
 
 
             2. ตลอด 3 เดือนตั้งแต่วันเข้าพรรษาถึงวันออกพรรษา ท่านได้เข้าร่วมโครงการงดเหล้าเข้าพรรษา
                 บ้างหรือไม่ (ถามเฉพาะผู้ที่ดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์)

 
ร้อยละ
เข้าร่วมโครงการ
  - เข้าร่วมได้ตลอด 3 เดือน ร้อยละ 23.8
  - เข้าร่วมได้ไม่ตลอดทั้ง 3 เดือน ร้อยละ 37.6
61.4
ไม่เข้าร่วมโครงการ
38.6
 
 
             3. ความเห็นต่อการเลิกดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์อย่างถาวร หลังจากวันออกพรรษา
                 (ถามเฉพาะผู้ที่งดดื่มสุรา และเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์)

 
ร้อยละ
ไม่คิดว่าจะเลิกดื่ม
  - คิดว่าจะดื่มน้อยลง ร้อยละ 72.2
  - คิดว่าจะดื่มเหมือนเดิม ร้อยละ 17.0
89.2
คิดว่าจะเลิกดื่มเลย
10.8
 
 
             4. ข่าวทางพุทธศาสนาที่ประชาชนรับไม่ได้มากที่สุด (5 อันดับแรก)

 
ร้อยละ
ข่าวพระมั่วสีกา
49.5
ข่าวพระเสพยาบ้า ขายยาบ้า
29.8
ข่าวพระสบถหยาบคาย ไม่สำรวม
7.2
ข่าวพระดื่มสุรา หนีเที่ยว
6.1
ข่าวพระตุ๊ด เณรแต๋ว
2.4
 
 
             5. จากข่าวต่างๆ ในข้อที่ 4 ส่งผลต่อความเสื่อมศรัทธาในพุทธศาสนามากน้อยเพียงใด  

 
ร้อยละ
ส่งผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างมากร้อยละ 34.3   และส่งผลมากที่สุด 33.5
67.8
ส่งผลค่อนข้างน้อยถึงไม่ส่งผลเลย
โดยแบ่งเป็นส่งผลค่อนข้างน้อยร้อยละ 14.9  และไม่ส่งผลเลยร้อยละ 17.3
32.2
 
 
             6. ความเห็นของประชาชนต่อการให้ความสำคัญกับวันสำคัญทางศาสนา มากน้อยเพียงใด

 
ร้อยละ
ให้ความสำคัญมาก
86.2
ให้ความสำคัญน้อย
13.8
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
30 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน
ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ
พญาไท ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,203 คน เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง  จากนั้น
คณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  3 - 5 ตุลาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 11 ตุลาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
600
49.9
             หญิง
603
50.1
รวม
1,203
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
304
25.3
             26 – 35 ปี
316
26.3
             36 – 45 ปี
300
24.9
             46 ปีขึ้นไป
283
23.5
รวม
1,203
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
831
69.6
             ปริญญาตรี
328
27.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
29
2.4
             ไม่ระบุการศึกษา
9
0.7
รวม
1,203
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
111
9.2
             พนักงาน / ลูกจ้่าง บริษัทเอกชน
263
21.9
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
385
32.0
             รับจ้างทั่วไป
210
17.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
87
7.2
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
147
12.2
รวม
1,203
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776